เครื่องวัดความชื้นกับงานในอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

เครื่องวัดความชื้น

ความชื้นเป็นสิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงในการผลิตสินค้าที่มีความไหวต่อการถูกทำลายจากความชื้น หรือความเสี่ยงต่อการควบคุมคุณภาพ ซึ่งมีทั้งในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งเราก็มีการใช้ เครื่องวัดความชื้น เพื่อตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของเรา 

ไฮโกรมิเตอร์ เป็นเครื่องวัดความชื้นที่ใช้ในการวัดปริมาณของไอน้ำที่อยู่ในอากาศ สามารถวัดความชื้นสัมพัทธ์ในช่วง 0 ถึง 100% RH แต่เครื่องมือวัดส่วนใหญ่ช่วงการวัดจะขึ้นกับชนิดของเซ็นเซอร์ ความชื้นสัมพันธ์จะแสดงเป็นอัตราส่วนของปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในอากาศหรือก๊าซปริมาณที่ถึงจุดอิ่มตัว 100% เครื่องวัดความชื้น มีความหลากหลายของการนำไปใช้งาน สำหรับการใช้ในงานอุตสาหกรรมของ เครื่องวัดความชื้น มีดังนี้ 1.เภสัชกรรม 2.ปศุสัตว์ 3.การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 4.โรงงานผลิตกระดาษ 5.การแปรรูปอาหาร 6.แล็ปคอมพิวเตอร์ 7.งานโครงสร้างอาคารและการก่อสร้าง  

อุตสาหกรรมยาเป็นหนึ่งในผู้ใช้ที่ใหญ่ที่สุดของ Hygrometer เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของระดับความชื้น กระบวนการผลิตอาหารที่พึ่งพาการควบคุมความชื้น เทคนิคการเก็บรักษาอาหารมักจะมุ่งเน้นไปที่การจำกัดความชื้นซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการควบคุมสภาพอากาศในอาคารที่และในกระบวนการผลิตกระดาษที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความไวสูงต่อความชื้น 

เครื่องมือวัดความชื้น อีกอย่างที่นิยมใช้นอกเหนือจากไฮโกรมิเตอร์ที่วัดความชื้นในอากาศแล้ว ยังมีเครื่องมือวัดความชื้น ในตัววัสดุ คือ (Moisture meter) คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดค่าเปอร์เซ็นต์ของน้ำในวัตถุ ค่าของเครื่องวัดความชื้นจะถูกเปรียบเทียบกับไม้ ค่าของความชื้นไม้จะอยู่ในช่วง 5 ถึง 40% เมื่อเรานำเครื่องวัดความชื้นไปวัดหรือทดสอบกับวัสดุอื่นๆ เช่นคอนกรีต ค่าของความชื้นจะอยู่ในช่วง 0 ถึง 100% โดยค่า 0 คือวัสดุที่แห้งปราศจากความชื้น และค่า 100% คือวัสดุที่เปียกน้ำ เครื่องวัดความชื้นบางประเภทอาจจะแสดงสัญสักษณ์สีเขียว (แห้ง) เหลือง (ความชื้นปานกลาง) และแดง (ความชื้นสูง) เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานทราบค่าที่ต้องการได้รวดเร็วขึ้น ค่าเปอร์เซ็นต์ความชื้นที่ได้จะเป็นตัวกำหนดว่าวัตถุนั้นพร้อมที่จะใช้งานได้หรือไม่และเพื่อป้องกันเหตุที่ไม่คาดฝัน เช่นวัสดุมีความแห้งหรือเปียกจนเกินไป วัตถุประเภท ไม้, กระดาษ มีความอ่อนไหวต่อความ ชื้นค่อนข้างมากลักษณะทางกายภาพของวัตถุทั้งสองจะได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากความชื้น  

ประเภทของเครื่องมือวัดความชื้น 

1. เครื่องวัดความชื้นแบบเข็ม 

ใช้วิธีวัดค่าความชื้น (%MC) ที่ปลายของเข็ม ซึ่งเครื่องมือวัดประเภทนี้จะมีเข็ม 2 เข็มเจาะลงไปในพื้นผิวของวัตถุ การอ่านค่าความชื้น  (%MC) จะได้จาก การวัดความต้านทานไฟฟ้าระหว่าปลายเข็มทั้งสอง วิธีการวัดโดยใช้เข็มเจาะอาจจะทำให้พื้นผิวของวัสดุที่ต้องการวัดเสียหายได้ 

2. เครื่องวัดความชื้นแบบไร้เข็ม 

เครื่องมือวัดประเภทนี้จะไม่ทำลายพื้นผิวของวัตถุ เช่นไม้ คอนกรีต ยิปซั่ม ซึ่งค่าความชื้น (%MC) ที่ได้จะเหมือนกับแบบเข็ม โดยช่วงการวัดความชื้นไม้คือ  5 ถึง 30%MC และช่วงการวัดวัตถุอื่นๆ คือ 0 ถึง 100%MC 

3. เครื่องวัดความชื้นแบบเข็มและไร้เข็ม (2 IN 1) 

เป็นเครื่องมือวัดความชื้นที่รวมเอาแบบเข็มและแบบไร้เข็มไว้ในเครื่องเดียวกัน เพื่อให้ครอบคลุมวัตถุประสงค์การใช้งานของผู้ใช้มากยิ่งขึ้น 

จะเห็นได้ว่าเครื่องวัดความชื้นในอากาศนั้นจะเหมาะกับงานอุตสาหกรรมการเกษตรหรืองานที่มีความเสี่ยงหรือความไวต่อความชื้นสูงเช่น ยา หรือ กระดาษ ส่วนเครื่องมือวัดความชื้นในวัสดุ เหมาะกับการควบคุมคุณภาพของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั่วไป